Skip to content
Future Forward Future Forward

ไกลก้อง ไวทยการ

  • Home
  • Profile
  • Download
Future Forward
Future Forward

ไกลก้อง ไวทยการ

  • X
  • Facebook
  • YouTube
  • TikTok

One ID

Admin, 05/19/2025

ไกลก้อง ไวทยการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการปกครอง คณะที่สอง

เช้าวันนี้ (6 มกราคม 2563) มีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการปกครอง คณะที่สอง ที่ผมเป็นที่ปรึกษาอยู่ ที่ประชุมได้พิจาณาถึงแนวทางการใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการบริการประชาชน โดยมีผู้แทนจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ธนาคารกรุงไทย และ สมาคมธนาคารไทย

เนื่องจากเป็นที่สงสัยว่า เหตุใดประชาชนถึงยังต้องพกบัตรที่ราชการออกให้หลาย ๆ ใบ โดยเฉพาะคนที่มีสิทธิ์ได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องทำบัตรใหม่เพื่อให้ได้สิทธิ์สวัสดิการที่รัฐจัดให้

ซึ่งข้อมูลที่ได้คือในหลักการแล้วสามารถมีบัตรใบเดียวได้ หากหน้าบัตรยังเป็นรูปแบบเดิม บัตรประชาชนมีชิปเก็บข้อมูลอยู่แล้ว ทางเทคนิคสามารถในมาใช้กับตู้ ATM ในปัจจุบัน หรือ เครื่อง EDC เพื่อชำระเงินได้ แต่ระบบหลังบ้านของบัตรประชาชนตอนนี้ไม่สามารถรองรับการเป็น e-money ได้ จึงต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไปใช้ระบบบัตรของ ธ.กรุงไทย แต่ยังใช้บัตรประชาชนในการยืนยันตัวตนอยู่ ซึ่งในอนาคตสามารถทำให้เหลือบัตรประชาชนใบเดียวได้

หน้าที่สำคัญของบัตรประชาชน คือ การยืนยันตัวตน ซึ่งต้องใช้ข้อมูลที่สำคัญคือข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ที่กระทรวงมหาดไทยดูแลอยู่ ซึ่งหากระบบข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ เชื่อมโยงกับข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ครบทุกหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน ก็จะทำให้เกิดความสะดวกในการบริการประชาชนของภาครัฐ ซึ่งเรื่องนี้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ตาม พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัลต่อไป

ส่วนในเรื่องภาคเอกชน ที่จะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ยังติดขัดในข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตามอาจมีทางออก ซึ่งต้องไม่ลืมว่าข้อมูลในบัตรประชาชนเป็นข้อมูลส่วนบุคคคลของเรา ไม่มีเอกชนรายใดนำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้ได้ หากเราไม่ยินยอม ดังนั้นหากเอกชนต้องการใช้ข้อมูลทะเบียนราษฏ์ของเรา จริงต้องมีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลได้ยินยอมให้ใช้ข้อมูล เช่น เมื่อธนาคารต้องการข้อมูลเราเพื่อยืนยันตัวตน อาจมี SMS มาขอเพื่อให้เรายินยอมให้ธนาคารเข้าถึงข้อมูลได้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาคเอกชน ได้เริ่มจัดทำระบบที่เรียกว่า National Digital ID (NDID) https://www.digitalid.or.th เพื่อช่วยให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพและ และสอดคล้องกับนโยบายอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และการให้บริการแก่สังคม และประชาชน ซึ่งทำให้ให้การยืนยันตัวตนของภาคเอกชนคล่องตัวขึ้น และ เจ้าของข้อมูลยังสามารถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้

ปัจจุบัน การยืนยันตัวตน ทำได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะจากข้อมูลชีวภาพ หรือ biomatric เช่น การสแกนลายนิ้วมือ หรือ การสแกนใบหน้า ซึ่งอนาคตบัตรประชาชนก็จะลดความสำคัญลง

Blog id-cardndid

Post navigation

Previous post
Next post

Related Posts

Blog

แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปลดล็อกท้องถิ่น

06/01/2025

เมื่อวานนี้ผมร่วมนำรายชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ #ปลดล็อกท้องถิ่น จำนวน 80,772 รายชือ ไปยื่นต่อสภาเพื่อให้ทางสภาบรรจุเข้าวาระในการพิจารณา เป็นเองเข้าชื่อเป็น 1 ใน 20 รายชื่อแรก เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และต้องขอขอบคุณอีก 80,771 รายชื่อที่ร่วมกันเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ…

Read More
Blog

“พื้นที่เมือง” พิดโลก

05/11/202505/11/2025

ไกลก้อง ไวทยการ หยุดยาวช่วง อาสาฬบูชา+เข้าพรรษา เลยได้มีโอกาสมาพิษณุโลก ผมเองผูกพันกับจังหวัดนี้ค่อนข้างมากเพราะเป็นบ้านเกิดของทางฝ่ายแม่ และผมเองก็มาเรียนที่นี่ 4 ปี มาเที่ยวนี้ได้มีโอกาสพักในพื้นที่ตัวเมืองชั้นใน และเดินเล่นสำรวจเมือง ตั้งแต่ย่านสถานีรถไฟ จรดวัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดหลวงพ่อพุทธชินราช ซึ่งแต่เดิมถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ มาวันนี้พื้นที่เมืองชั้นในดีกลับดูเงียบ และเฉา…

Read More
Blog

ท้องถิ่นกับการฟื้นการขนส่งทางน้ำ

05/20/2025

เดือนกรกฎาคม เป็นจังหวะที่คณะก้าวหน้าประกาศทำงานการเมืองท้องถิ่นอย่างจริงจัง ผมเองมารับผิดชอบเรื่องนโยบายท้องถิ่นของคณะ โดยมีนโยบายหลัก ที่ทีมคณะก้าวหน้าท้องถิ่นทุกพื้นที่ต้องมีคือ การทำนโยบาย หลักคือให้พื้นที่คิด เราช่วยตบ ช่วยแต่ง ให้เข้าที่ กลุ่มแรกที่ได้ลงพื้นที่ไปคุย จะเรียกว่ากลุ่มภาคกลางก็ได้ มีนโยบายที่สนใจคล้าย คือ การฟื้นการขนส่งทางน้ำ …

Read More

ล่าสุด

  • APHR Members Forum 2024
  • Telemedicine เทศบาลตำบลหนองแคน
  • ร่วมการประชุม ACSC_APF 2024 ที่ Timor-Leste
  • APHR-Climate Resilience in South East Asia
  • Open Parliament Hackathon

Creative Commons License
This work by klaikong.in.th is licensed under a
Creative Commons Attribution 4.0 International License.

©2025 Future Forward | WordPress Theme by SuperbThemes