Anti Corruption Datathon

เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 62 ผมได้ไปร่วมกิจกรรม Datathon ที่จัดโดย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศ (TIJ) ร่วมกับ สถาบัน Change Fusion, Open Dream, Open Data Thailand, Hand Social Enterprise และ องค์การต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย (ACT)


กิจกรรมนี้มีเป็นการช่วยกันสร้างชุดข้อมูล หรือ datasets ที่เป็น Open Data ที่เอาไปใช้ประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ต่อได้ มีการแบ่งงานเป็น 2 ทีม คือ ทีมนำเข้าข้อมูล และ ทีมโปรแกรมเมอร์

ทีมนำเข้าข้อมูล ทำงานกับข้อมูล 2 แหล่งคือ ข้อมูลการชี้มูลความผิดจาก ปปช. โดยนำมาจัดเรียงเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง (structure data) โดย จำแนกชื่อคน ชื่อองค์กร ความผิด ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับองค์กร อีกแหล่งหนึ่งคือ คำตัดสินของศาลฎีกาในคดีทุจริต ซึ่งต้องทำผลคำตัดสินที่เป็นร้อยแก้ว เป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างเช่นกัน

ส่วนทีมโปรแกรมเมอร์ เขียนโปรแกรมเพื่อ จับคู่ควาสัมพันธ์ของข้อมูล และ ทำการ visualization ข้อมูล หรือ การทำข้อมูลออกมาเป็นภาพ อาทิ กราฟ แผนที่ ชาร์จต่าง ๆ


ทั้ง 2 ทีมใช้เวลาทำงานกันประมาณ 10 ชั่วโมง ผลงานที่ได้คือ datasets ข้อกล่าวหาของ ปปช. ประมาณ 900 กรณี และ คำตัดสินคดีทุจริตของของศาลฎีกา 90 คดี ที่เป็น machine readable ที่สามารถนำไปประมวลผลต่อได้ และ รูปแบบการ visualization ของข้อมูล

งานนี้ถือว่า เป็นสารตั้งต้น ในการทำงานเพื่อใช้ข้อมูลในการต่อต้านคอร์รัปชั่น อาทิ เราสามารถหาความสัมพันธ์ได้ ว่านักการเมือง ข้าราชการ หรือ นักการเมืองท้องถิ่น คนใดมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทที่รับงานภาครัฐ และ บริษัทนั้นเคยมีการชี้มูลความผิดจาก ปปช. หรือไม่ พื้นที่ใดมีลักษณะการคอร์รัปชั่นเรื่องใดมาก อาทิ พื้นที่ติดชายแดน มีปัญหาทุจริตเรื่องเอกสารสัญชาติเยอะ หรือ เป็นเด็นที่ยังเป็นช่องโหว่ เช่น การโกงเงินสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การปิดช่องว่างเชิงระบบ

ในระยะยาว ข้อมูลเหล่านี้สามารถเอาไปทำ machine learning เพื่อหารูปแบบการคอรัปชั่นได้


กิจกรรมลักษณะนี้ สามารถติดตามได้ที่เพจ https://www.facebook.com/TIJprojectj/ ซึ่งนับจากนี้ เทคโนโลยี และ ข้อมูล (data) จะช่วยให้เรามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน ของรัฐ และ บุคคลสาธารณะ ได้มากและดีขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร โดยใช้ CivicTech