Asia Pacific Open Data Summit 2015 Taipei part1
Published by Klaikong,
ไกลก้อง ไวทยการ
Social Technology Institute
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีงานทีสนุกและน่าสนใจอีกงานคือ Asia Pacific Open Data Summit ที่ทางไต้หวันเป็นเจ้าภาพในครั้งแรกนี้ คือย้อนไปเมื่อต้นปีที่แล้ว ทางสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์-EGA ( http://www.ega.or.th ) ได้ทำบันทึกความเข้าใจร่วม (MOU) ทั้งหน่วยงานในและต่างประเทศเพื่อร่วมกันผลักดันเรื่อง Open Data เป็นวาระสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ โดยของไทยมีเว็บ https://data.go.th เป็นเว็บท่าในการเข้าถึง หนึ่งในหน่วยงานที่ลงนามร่มคือสถาบัน Change Fusion เนื้อความที่ Change Fusion ลงนามด้วยคือการสร้างชุมชนของผู้ใช้ข้อมูล Open Data ส่วนหน่วยงานในต่างประเทศ EGA ลงนามร่วมกับ Open Data Alliance ของไต้หวัน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของบริษัทที่เป็น Tech Startups ของไต้หวันกว่า 357 บริษัท ภายใต้ Taiwan Computer Association
มา Hackathon กันเถอะ
งานนี้ต้องบอกเลยว่าเริ่มจากทางไต้หวันชวนจัด Hackathon หรือการเขียนโปรแกรมแบบมาราธอน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ต้นแบบแอปพลิเคชั่นจากข้อมูลที่เป็น Open Data ภาครัฐ หลังจากที่คุยกันสองสามครั้งก็มาลงตัวที่โจทย์ที่จะ Hackathon ใน 3 เรื่องด้วยกันคือ สุขภาพ ภัยพิบัติ และการจราจร โดยเป็นการจัดร่วมพร้อมกันทั้งฝั่งประเทศไทย และฝั่งไต้หวัน มีทีมที่เข้าร่วม battle กันข้างละ 5 ทีม ชิงรางวัลที่ 1 ได้ทุนพัฒนาแอปไป 30,000 บาท ที่ 2 ได้ทุนพัฒนาแอป 20,000 บาท พิเศษสำหรับทีมที่ชนะคือ ตัวแทนของทีมจะได้เข้าไปร่วมแสดงผลงานที่ Asia Pacific Open Data Summit ที่ไต้หวัน ทีมไต้หวันมีได้แสดงผลงานเช่นกัน แต่ไม่ต้องเดินทางไกล..อิอิ
หลังจากที่เราเปิดรับสมัครและคัดเลือกทีมมาร่วม Hackathon ซึ่งเริ่มต้นที่ 7 ทีมและโหวดกันเองจนเหลือ 5 ทีมเข้าร่วมแข่งกับไต้หวันได้แก่ทีม โดย Hackathon มีขึ้นเมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคมที่ผ่านมาที่ Ma:D Club for Change เอกมัย
- CookIT แอปข้อมูลอาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น หัวใจ ความดัน เบาหวาน มะเร็ง
- Death Clock แอปนาฬิกาคำนวณเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต โดยนำเอาอายุเฉลี่ยของคนไทยมาคิดร่วมกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
- Heart To Go แอปเปรียบเทียบค่ารักษาพยาบาลโดยเฉพาะโรคหัวใจในโรงพยาบาลต่าง ๆ
- The Seetie แอปเตือนภัยพิบัติจากข้อมูลเตือนภัย และ Social Network รอบตัว
- Mha Muang ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน 7 วันอันตรายแบบ visualization
*ดูสไลด์ของทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งไทย และไต้หวันได้ที่ http://bit.ly/thtwhack
ตัวแทนทีมไทย
จากการตัดสินร่วมของกรรมการทั้งไทย และไต้หวันผลออกมาคือ ทีมชนะเลิศได้แก่ Mha Muang โดยสมาชิกกลุ่มส่วนหลักๆ มาจาก Startup ชื่อ Boonme Lab และทีมรองชนะเลิศได้แก่ Death Clock มาจากน้องๆสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งทั้งสองทีมได้ไปโชว์ผลงานที่งาน Asia Pacific Opend Data Summit ที่ไต้หวัน 13 - 15 ตุลาคม ที่ผ่านมา และแอปพลิเคชั่นจะได้รับการสนับสนุนจนเป็นแอปที่สมบูรณ์
capture หน้าจอของทีม Mha Muang
capture หน้าจอของทีม Death Clock
ส่วนทางทีมไต้หวันแอปที่ชนะคือ Buzz Alert คือการใช้ Social Network ในการช่วยเตือนภัยพิบัติ และมีการ visualizetion ข้อมูลที่น่าสนใจ
Part 2 จะเล่าในส่วนประสบการณ์ของชุมชน Open Data ที่ไต้หวัน