Collaboration Platform กับ Social Lab
Published by Klaikong,
ไกลก้อง ไวทยการ
Social Technology Institute
วันนี้ (15.08.58) ได้มีโอกาสมาร่วมกระบวนการที่เรียกว่า Social Lab ที่ facilitate โดย มร.อดัม คาเฮน ที่มีประสบการณ์จัดกระบวนการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในประเทศต่าง ๆ มากว่า 20 ปี
บรรยากาศวันนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 20 คน แต่เป็นระดับผู้บริหารองค์กรภาคประชาสังคม อาทิ อโซก้า มูลนิธิสยามกัมมาจล มูลนิธิเพื่อคนไทย (เจ้าของสถานที่) ผู้ก่อตั้งเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคม (SVN) อธิการบดี มศว. เป็นต้น
กระบวนการใช่เวลาเพียง 3 ชั่วโมง แต่ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ โดยเริ่มจาก
- กระบวนกรให้แบ่งกลุ่มคิดถึงเป้าหมายว่าอยากเห็นอะไรเกิดขึ้นในเมืองไทย เมื่อสิ้นสุดปี 2016 โดยสรุปคือ ในวงเน้นไปที่อยากเห็นพื้นที่ความร่วมมือในการแก้ปัญหาบ้านเมือง และเน้นไปในเรื่องการสร้างนวัตกรรมสังคม และการสร้างคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้เพิ่มมากขึ้น
- จากนั้นมาสรุปทำให้เห็นเป็นภาพ โดยใช้กระดาษโน๊ตเป็นรูปหกเหลี่ยมอย่างที่เห็นในภาพ
- มร.อดัม คาเฮน ได้สรุปแบบฉายภาพกระบวนการทำ collaboration platform ซึ่งต้องมีการระบุทีมและโครงการ จากนั้นแลกเปลี่ยนข้อมูลกันว่าใครทำอะไร เรียนรู้อะไร ต้องการให้ช่วยอย่างไร
- กิจกรรมสำคัญของ platform นี้คือการสร้างกระบวนการ accelerator เพื่อเร่งระดับความสำเร็จโดยอาศัยพลังความร่วมมือของภาคีหลายภาคส่วนและ มีระดับการเร่ง เช่น ครั้งที่ 1 มี 10 โครงการ เมื่อเกิดผลสำเร็จเห็นชัด ชี้วัดได้ ครั้งที่ 2 เพิ่มเป็นร้อยโครงการ
- ทั้งนี้ต้องมีหน้าที่ของทีมที่จะสนับสนุน มีกระบวนการเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติ มีการในให้ feedback อย่างเป็นระบบ มี committment และสร้างต้นแบบขึ้นมาทดลอง
ท้ายสุดด้วยการ check out ที่กลับไปพร้อมความหวังว่าจะเกิด collaboration platform ที่มีความเป็นกลาง ที่ทุกคนจะเข้ามาร่วมแบ่งปันเวลา ความคิด คน ทุน เพื่อทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้