อนุ กมธ.ศึกษาผลกระทบและวิธีแก้ปัญหาข่าวปลอม (Fake News)
Published by Klaikong,
เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 64 คณะอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบและวิธีแก้ปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาการเมืองและการสื่อสารมวลชน ได้เชิญผู้ประสานงาน มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง หรือ เครือข่ายพลเมืองเน็ต
Thai Netizen Network เข้ามาให้ข้อมูลถึงผลกระทบและข้อเสนอของการปัญหาข่าวปลอม หรือ ข้อมูลบิดเบือน ที่มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
ผู้ประสานงานของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้ให้ข้อมูลถึงผลกระทบจากการใช้ประเด็นของข้อมูลบิดเบือน ทำให้สาระหลักของการพูดคุยเรื่องนโยบายสาธารณะถูกเบี่บงเบนประเด็นไป ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพูดคุยประเด็นการบุกรุกที่ดินสาธารณะของประชาชนยากจน รัฐบอกว่าบุกรุก 100 ไร่ ประชาชนบอก 80 ไร่ แต่รัฐยึดข้อมูลตัวเองเป็นหลักและกล่าวหาประชาชนว่าให้ข้อมูลเท็จ ทำให้การเจรจาก็ปัญหาสะดุดลง เป็นต้น
นอกจากนั้นยังต้องดูเจตนาของการข้อมูลที่บิดเบือดว่าสร้างผลกระทบ หรือ มีเจตนาร้ายหรือไม่ เช่น จงใจใช้ข้อมูลนี้เพื่อโจมตี หรือ ด้อยค่า เป้าหมาย เพื่อหวังผลทางการเมือง หรือลดน้ำหนักข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม
ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ตย้ำว่าควรรัฐนิยามเรื่องข่าวปลอม หรือ ข้อมูลบิดเบือนให้ชัดเจน ทั้ง Mis-information ซึ่งอาจเกิดจากความไม่ตั้งใจให้ข้อมูลผิดพลาดไม่ครบถ้วยแต่ไม่มีเจตนาร้าย Dis-information ที่มีความตั้งใจบิดเบือนข้อมูล และมีเจตนาร้าย รวมทั้ง Mal-information ที่มีความตั้งใจใช้ข้อมูลที่มาด้อยค่า หรือ ดิสเครดิต รวมทั้งการใช้พรุสวาจน หรือ hate speech มากระทำฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานระหว่างหน่วยงานรัฐกับแพลตฟอร์ม ที่ต้องทำความเข้าใจเรื่องนิยามข้อมูลบิดบิดเบือนให้ตรงกัน เพื่อการประสานงานแก้ปัญหาได้รวดเร็วขึ้น
ติดตามสรุปการประชุมของคณะอนุกรรมาธิการชุดนี้ได้ที่ https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/25_politic_sub6/main.php?filename=subcommittee
ไกลก้อง ไวทยการ
12 มี.ค. 64