SMART Parliament in Singapore (1/4)



22 กันยายน 2566 วันแรกของการร่วมคณะเยือนสิงคโปร์ของรองประธานสภาคนที่ 1 หมออ๋อง ปดิพัทธ์ สันติภาดา โดยมีเพื่อนร่วมทริปทั้ง ส.ส.จากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อไทย ซึ่งผมจะเขียนเล่าจากมาทำงานร่วมสิงคโปร์ครั้งนี้จากมุมของผู้ติดตามคณะในแต่ละวัน

เริ่มภารกิจช่วงเช้าที่รัฐสภาสิงคโปร์ รัฐสภาสิงคโปร์เป็นสภาเดี่ยว ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1965 หรือ พ.ศ. 2508 พร้อมประเทศสิงคโปร์ คณะได้เข้าพบรองประธานรัฐสภาสิงคโปร์ นาย Christopher de Souza ทางคณะฝั่งไทยไห้หารือร่วมกันโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนา smart parliament ซึ่งทางรัฐสภาสิงคโปร์นอกจากจะเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของรัฐสภาแล้ว ยังมีแอพพลิเคชั่นที่ใช้สื่อสารกับสมาชิกรัฐสภา ที่เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อยืนยันตัวผ่านระบบ Sing Pass รัฐสภาสิงคโปร์จัดทำพื้นที่ส่วนที่ใช้เป็นจุดผู้มาเยี่ยมติดต่อรัฐสภา เรียกว่า ParlConnect เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ และ ส่วนบริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของรัฐสภาสิงคโปร์ นอกจากนั้นยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นเรื่องความหลากหลายในรัฐสภาโดยเฉพาะประเด็น ส.ส.สุภาพสตรี ซึ่งที่รัฐสภาสิงคโปร์มีสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ของสมาชิกรัฐสภาสิงคโปร์ ทางประธานรัฐสภาสิงคโปร์ได้ซักถามถึงทิศทางการเมืองในประเทศไทยจากนี้ ซึ่งทางรองประเทศสภาไทยตอบว่า ประชาชนไทยคาดหวังกับการเลือกตั้งครั้งนี้มาก สิ่งที่จะตั้งใจทำต่อไปคือการพัฒนาเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผ่านช่องทางรัฐสภา รวมถึงสนับสนุนกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ช่วงบ่ายเข้าพบท่านเอกอักคราชฑูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ ท่านฑูตบรรยายสรุปความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสิงคโปร์ โดยที่ผ่านมามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นโดยเฉพาะด้านการทหาร และ การท่องเที่ยว แต่มีบางเรื่องที่ไม่ได้รับการสานต่อจากรัฐบาลชุดที่แล้วเท่าที่ควรคือเรื่องความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยประเทศไทย และ สิงคโปร์เคยลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการเป็นหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเมื่อปี 2564 หรือ The Digital Economy Partnership Agreement (DEPA) ไว้ ความสัมพันธ์ทางด้านอื่น ๆ ถือว่าอยู่ในระดับดี
จากนั้นได้มีการพบปะกับตัวแทนนักเรียนไทยในมหาวิทยลัยต่าง ๆ ของสิงคโปร์ ซึ่งได้รับฟังเรื่องการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยส่วนใหญ่ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในสิงคโปร์ โดยคณะนักเรียนไทยได้ถามถึงการทำงานรัฐสภากับรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และ กระบวนการออกกฎหมายของรัฐสภาไทย

ท้ายสุดคือพบปะคนที่มาทำงานสายเทคโนโลยีในสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกเกือบทุกบริษัทมีสำนักงานภูมิภาคเอเชียอยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งทุกบริษัทมีคนไทยมาทำงาน ซึ่งเรียกว่าเป็นวงระดมสมองว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศไทย ดึงดูดคนทำงานสายเทคโนโลยีและ Startups มากกว่านี้ ซึ่งสะท้อนว่าการทำงานที่สิงคโปร์ดีกว่าทั้งเรื่องค่าจ้าง การจ่ายภาษีให้กับรัฐ คือทั้งจ่ายน้อยกว่าไทย และ บริการภาครัฐดีกว่าทั้งการคมนาคมขนส่ง มีระบบ Singpass ที่รวมบริการภาครัฐทั้งหมดลงบนแอพ ๆ เดียว นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมการทำงานยังมีความหลากหลายมีเพื่อนร่วมงานหลายชาติ ทำให้มีมุมมองที่หลากหลาย และ รัฐบาลยังสนับสนุนเรื่องการ upskill ต่าง ๆ กับคนทำงาน การสนับสนุน Startups ที่นี่ทำอย่างเป็นระบบ มีทุนสนับสนุนจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงบ่มเพาะ และการขยายธุรกิจ