SMART Parliament in Singapore (3/4)
Published by Klaikong,
วันที่ 3 ที่สิงคโปร์แม้เป็นวันอาทิตย์ แต่มีกำหนดการทำงานเริ่มจากการไป Marina Barrage หรือเขื่อนกั้นปากแม่น้ำสิงคโปร์ เปิดใช้งานเมื่อปี 2008 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างโครงการนี้คือ 1. ให้สิงคโปร์มีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ผลิตน้ำประปาดื่มได้ 2. ป้องกันน้ำท่วม 3. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่พักผ่อนหย่อนใจ
สิงคโปร์เป็นเกาะที่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรจากประเทศอื่น โดยเฉพาะน้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญ หากต้องพึงพาน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเดียว หากมีปัญหากัน ก็จะทบความมั่นคงของสิงคโปร์เอง ดังนั้นสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญแต่การจัดการน้ำทุกหยด การสร้าง Marina Barrage เพื่อเป็นเขื่อนกั้นน้ำจืดจากแม่น้ำสิงคโปร์ไม่ให้ใหลลงทะเลหมด และผันน้ำเข้าสู่ water bank ขนาดยักษ์ใต้ดินนำไปผลิตเป็นประปาดื่มได้ ทั้งสิงคโปร์ยังลงทุนระบบผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำประปา เขื่อนนี้ยังทำหน้าที่ช่วยระบายน้ำเวลามีสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยมีปั้มขนาดใหญ่ช่วยผลักดันน้ำให้ระบายออกจากเมืองสิงคโปร์โดยเร็ว อาคารปั้ม และ water bank ของสิงคโปร์นั้นทำเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง การเปลื่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำ รวมทั้งการจัดการขยะในที่เดียวกัน วันที่ไปเป็นวันอาทิตย์ จึงมีกิจกรรมต่าง ๆ โดยแเฉพาะกิจกรรมกับเยาวชนที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเช่น ปลูกต้นไม้ในกระถางที่ย่อยสลายในดินได้ ทำงานศิลปะจากขวดพลาสติกใช้แล้วเป็นต้น มาที่ Marina Barrage แล้วมีแรงบัลดาลใจกลับไปทำงาน 2 เรื่องใหญ่ ๆด้วยกัน เรื่องแรกคือการอนุรักษ์พลังงาน และ การใช้พลังงานทดแทนของอาคารรัฐสภา โดยเฉพาะการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้บางส่วนเช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่างในและภายนอกอาคาร อาจตั้งเป้าว่าลดการใช้ไฟฟ้า 25 เปอร์เซนต์ ก็จะลดค่าไฟได้ปีละ 100 ล้านบาท อีกส่วนหนึ่งคือที่นี่มีส่วนนิทรรศการ ที่นำเสนอเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนของสิงคโปร์ สิ่งที่น่าสนใจคือเขาดัดแปลงเรื่องนโยบาย และ เป้าหมายเรื่องนี้เป็นนิทรรศการแบบ interactive ซึ่งรัฐสภาเองมีพื้นที่พิพิธภัณฑ์ที่สามารถนำเอาเรื่องที่เข้าใจยาก ๆมาทำเป็นนิทรรศการแบบ interactive เพื่อให้เข้าใจง่าย เช่น เรื่องกฎหมาย หรือ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น
จากนั้นมีนัดทานอาหารกลางวัน และ พูดคุยกับ ส.ส. พรรคคนงาน (Workers' Party) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านของสิงคโปร์ มีที่นั่งในสภา 8 ที่นั่ง เนื่องจากวันแรกเราไปเข้าพบรองประธานรัฐสภา รวมทั้ง ส.ส. ที่มาจากพรรครัฐบาล เพื่อข้อมูลรอบด้านจึงต้องมาคุยกับทางฝ่ายค้านด้วย ประเด็นที่พูดคุยคือ การทำงานเป็นฝ่ายค้านที่มีเสียงน้อย (มาก) ในรัฐสภา ซึ่งทางกลุ่ม ส.ส.ฝ่ายค้านเล่าว่า แน่นอนว่ามีความยากในการทำงาน และ การมีบทบาทของฝ่ายค้านในสภา ฝั่งรัฐบาลสิงคโปร์มีการปรับตัวตอบสนองประชาชนตลอด และยังเข้าถึงทรัพยากรในการทำงานมากกว่าทำให้ยังเป็นที่นิยม อย่างไรก็ตามก็ยังมีโอกาสจากคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง และ อยากให้เกิดความหลากหลายทางนโยบายของสิงคโปร์มาสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านปัจจุบันมากขึ้น เรื่องที่คุยกันเพิ่มเติมเช่น การบิดเบือนข้อมูลข่าวสารเพื่อโจมตีกันทางการเมือง ซึ่งทางฝ่ายค้านโดนโจมตีว่า ถ้าเลือกพรรคฝ่ายค้านจะไม่มีอนาคตให้ลูกหลานสิงคโปร์ เป็นต้น