Thailand Infrastructure Weekend
Published by Klaikong,
วันศุกร์-เสาร์ (24-25 พ.ค.) ที่ผ่านมา ถือว่าเป็น 2 วันเรื่องการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผม วันศุกร์ร่วมเวิร์คช็อบ เรื่องการพัฒนาศูนย์การขนส่ง (TOD) กรณีศึกษาจากประเทศอินเดียจัดโดยธนาคารโลก (World Bank) วันเสาร์ร่วมคณะดูงานกับคณะกรรมาธิการติดตามงบประมาณฯ ไปดูโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และ ท่าเรือนำ้ลึกแหลมฉบัง
เรื่อง TOD คือการพัฒนาพื้นที่รอบขนส่ง ให้เป็นทั้งศูนย์การเชื่อมต่อการขนส่ง และ พัฒนาพื้นที่โดยรอบ TOD ให้เกิดพื้นที
ทางเศรษฐกิจ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับเมืองนั้น ๆ กรณีของอินเดียมีทั้งแผนพัฒนาศูนย์ขนส่งเพื่อพัฒนาเมืองรอบนอกของนครมุมไบ เพื่อทำให้นครมุมไปมีลักษณะเป็น node city คือมีศูนย์กลางย่อยในมุมเมืองต่าง ๆ
กลับมาดูโครงสร้างพื้นฐานของไทย ที่ไปดูกับกรรมาธิการเมื่อวานนี้ที่สนามบินอู่ตะเภา กมธ.รับฟังการนำเสนอทั้งโครงการขยายสนามบินอู่ตะเภา และ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีความน่ากังวัลทั้ง 2 โครงการเพราะส่งผลถึงความสำเร็จซึ่งกันและกัน ที่น่ากังวลมากกว่าคือโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพราะบริษัทที่ประมูลงานได้ ทำท่าจะไม่ทำโครงการต่อ ด้วยเหตุผลว่าสถานการณ์ทั้งโรคระบาด และ สงคราม ทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุน ซึ่งเรื่องนี้หากไม่รีบแก้ปัญหาก็จะมีผลต่อโครงการ ที่อาจทำให้โครงการล่าช้าไปหลายปี และทำให้การลงทุนขยายสนามบินอู่ตะเภา ต้องปรับแผนการลงทุนใหม่
ส่วนสนามบินอู่ตะเภาขณะนี้กำลังเริ่มก่อสร้างส่วนต่อขยาย สร้าง solar farm ขนาด 15 เมกะวัฒน์เสร็จแล้ว มีการส่งมอบพื้นที่สร้างรันเวย์ที่ 2 ความยาว 3.5 ก.ม. ซึ่งกองทัพเรือกำลังจะประกาศหาผู้มาประมูลการก่อสร้าง และเมื่อเปิดเฟสแรกของการขยายสนามบินอู่ตะเภาในปี 2571 จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 12 ล้านคนต่อปี
ท่าเรือนำ้ลึกแหลมฉบังก็ได้ดู โครงการขยายท่าเรือเฟสที่ 3 ที่จะทำให้ท่าเรือแหลมฉบังมีศักยภาพรองรับตู้สินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 18.1 ล้าน ทีอียู/ปี และขนส่งรถยนต์ได้ 3.0 ล้านคัน/ปี และดูระบบดศุลกากรที่ทำให้การตรวจสินค้ารวดเร็ว เพื่อลดเวลาการขนส่ง
ทั้งนี้โครงการต่าง ๆ เหล่านี้หากสำเร็จจะส่งผลต่อการเติบโดไม่เฉพาะจังหวัดทางภาคตะวันออก แต่จะส่งผลต่อการเติมโตทางเศรษฐกิจ GDP โดยรวมของประเทศ แต่ต้องอาศัยการบริหารโครงการที่ต้องแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว เพราะขณะที่เรามัวแก้ปัญหาที่ส่วนใหญ่ติดขัดในเรื่องข้อกฎหมาย และระเบียบราชการ ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคต่างก็เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่นกัน อีกเรื่องหนึ่งคือการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เข้าหากันด้วยระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เช่นการจัดหาหัวรถจักรรวมทั้งขบวนรถสินค้าให้พอ หรือรถไฟทั้งท้องถิ่น แล รถไฟความเร็วสูงพร้อมระบบ feeder ที่เชื่อมกันใน TOD ที่ทำให้เศรษฐกิจในระดับเมืองเติบโตไปด้วย