Open Goverment Monday EP16
Published by Klaikong,
[Open Government Monday]
[สถานการณ์ Open Data ในภูมิภาคเอเชีย จากรายงาน STATE OF OPEN DATA]
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานับแต่มีกระแสเรื่อง Open Data หน่วยงานวิจัยของแคนนาดาคือ International Research Centre และ หน่วยงานที่ชื่อว่า Open Data for Development (OD4D) ใช้เวลา 18 เดือนในการทำวิจัยเพื่อสะท้อนทศวรรษของการทำงานด้าน Open Data ในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และความท้าทายต่างๆ โดยใช้ชื่อรายงานว่า The State of Open Data ( https://www.stateofopendata.od4d.net/) เมื่อเดีอนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมา
โดยในตอนนี้จะสรุปสถานกาณ์ Open Data ในภูมิภาคเอเชีย จากรายงานฉบับดังกล่าว
ประเด็นหลัก
- ปี 2012 -2014 ได้มีการริเริ่มทำงานเรื่อง Open Data ในภูมิภาค แต่มีสภาพคล้ายการ "โยนข้อมูลมาให้เปิด" นั้นคือมีปัญหาเรื่องคุณภาพของข้อมูล
- ภาคประชาสังคม มีบทบาทในการทำงานที่สำคัญในการสร้างและจัดทำข้อมูล เพื่อการวางแผนพัฒนา การณรงค์ทางการเมือง หรือการตรวจสอบการทำงานภาครัฐ อย่างไรก็ตามยังมีคำถามถึงความยั่งยืนของบทบาทภาคประชาสังคม ในเรื่องนี้
- มีการใช้งาน Open Data มากขึ้น แต่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีรายได้สูง ด้านแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในระดับประเทศ แต่มีความต้องการข้อมูลในระดับท้องถิ่นด้วย
- วิสัยทัศน์ Open Data Asia 2020 เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ แสดงภาวะผู้นำ และรับปากว่าจะ เปิดเผยข้อมูล ปรับปรุงการมีส่วนร่วม และเพิ่มศักยภาพของประชาชนในการใช้ประโยชน์จาก Open Data
จากการสำรวจตัวชี้วัดด้านการเปิดเผยข้อมูลที่เรียกว่า Open Data Barometer พบว่ามีเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูล Open Data มากกว่า 200 เว็บในภูมิภาค ทั้งระดับประเทศแล ระดับท้องถิ่น และเปิดเผยข้อมูลทั้งเรื่องงบประมาณภาครัฐ และ การใช้จ่ายภาครัฐ จนถึงคุณภาพน้ำ และ การใช้ที่ดิน แต่ก็มีอีกหลายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ควรเปิดเผย ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ในหลายประเทศเช่น การถือครองที่ดิน การถือหุ้นในบริษัท และ ผลการเลือกตั้ง ในเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่เปิดเผยการใช้จ่ายภาครัฐ
การใช้ Open Data ในภาคธุรกิจ ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีรายได้สูงเช่น เกาหลีใต้ หรือ ไต้หวัน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจด้าน IT สุขภาพ และ ภูมิสารสนเทศ
ในภูมิภาคเอเชีย ภาคประชาสังคมยังเป็นหลักในการรณรงค์ และ สร้าง Open Data มีการทำงานกันเป็นเครือข่าย อาทิ องค์กร Sinar Projectในมาเลเซีย ทำงานร่วมกับ องค์กร Phandeeyar ในพม่าพัฒนาแอพพลิเคชั่น สำหรับติดตามกิจกรรมด้านนิติญัตติในรัฐสภา เป็นต้น อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้พึ่งพาเงินทุนจากผู้บริจาค จึงมีคำถามถึงเรื่องความยั่งยืนของโครงการ
Open Data ในภูมิภาคยังโดนท้าทายจากสถานการณ์การเมือง ที่คุกคามพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สิทธิเสรีภาพในการความเห็น ที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับรัฐบาล
วิสัยทัศน์ Open Data Asia 2020 (ODAsia2020) ปราณาที่จะเห็นผลสัมฤิทธิ์ใน 3 เรื่องหลักเพื่อให้เกิดการพัฒนา Open Data อย่างยั่งยืน ดังนี้
- รัฐบาลต้องแสดงภาวะผู้นำ และ รับปากว่าจะเปิดเผยข้อมูลทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่าง ๆ ต้องมีความร่วมมือในการพัฒนา Open Data
- ประชาชนต้องมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์จาก Open Data
บทความนี้เป็น CC:BY นำไปเผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำได้ โดยอ้างที่มา
อ่าน Open Government Monday ย้อนหลังได้ที่ https://klaikong.in.th/