Open Goverment Monday EP2

ไกลก้อง ไวทยการ

จากนี้ทุกวันจันทร์ผมพยายามจะโพสเรื่องเกี่ยวกับ Open Government ทั้งไอเดียที่จะนำมาใช้ และ กรณีศึกษาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อขยายภาพนโยบาย #Opengoverment หรือ #รัฐเปิดเผย ของพรรค #อนาคตใหม่
หลายคนเวลานึกถึง Open Government อาจจะนึกถึงแค่ การมีส่วนร่วมเชิงนโยบายกับฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่กลไกที่สำคัญอีกกลไกหนึ่งคือเรื่องนิติบัญญัติ หรือ การออกกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วม ของประชาชนอย่างเปิดเผย หลากหลาย และทั่วถึง ไม่ต้องพูดว่าที่ผ่านมา 5 ปี กับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ผิดหลักการเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มต้นคือ ประชาชนไม่ได้เลือกมา ต้องแก้ไขไม่ให้สภาพเช่นนี้วนกลับมาอีก และ #อนาคต ที่เราจะร่วมสร้าง #Openparliament กัน
วันนี้ขอพูดถึง คุณสมบัติ ของ Open Parliament ที่ National Democratic Institute เพื่อสำรวจความเป็นรัฐสภาที่เปิดเผย เปิดการมีส่วนร่วมร่างกฎหมายกับประชาชน ใน 34 ประเทศ จากทุกทวีปทั่วโลก ซึ่งมีคุณสมบัติ ตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่ว่าด้วยภาพรวมการทำหน้าที่ ของ ส.ส. ส.ว. กรรมาธิการ การบริหารในรัฐสภา การเข้าถึงข้อมูล จริยธรรม และ การมีส่วนร่วมของประชาชน ดังเช่น
* ต้องเปิดเผยร่างกฎหมาย กำหนดการพิจารณากฏหมาย บันทึกการประชุม บันทึกการลงคะแนน ฐานข้อมูลกฎหมาย สถานะการพิจารณากฏหมายแต่ละตัว ประชาชนสามารถเข้าฟังการพิจารณาด้วยได้หรือไม่
* มีบันทึกการประชุมของกรรมาธิการ มติของกรรมาธิการ รายชื่อกรรมาธิการที่เข้าประชุม บันทึกการโหวตออกเสียง วาระการประชุมของกรรมาธิการ ประชาชนสามารถเข้าฟังการพิจารณาด้วยได้หรือไม่
* เปิดรายชื่อ ส.ส. ส.ว. ที่เข้าประชุม และ ขาดการประชุม รายชื่อ ส.ส. ส.ว ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชน ที่ติดต่อ ส.ส. ส.ว บัญชีทรัพย์สินของ ส.ส. ส.ว ค่าใช้จ่ายในตำแหน่งของ ส.ส. ส.ว
* เปิดงบประมาณและค่าใช้จ่ายของรัฐสภา ที่ติดต่อ ของข้าราชการระดับสูงของรัฐสภา รายละเอียดการติดต่อรัฐสภา
* มีเว็บไซต์ที่เปิดเผยข้อมูลข้างต้น มีข้อสรุปเกี่ยวกับการประชุมและข้อกฎหมายในภาษาที่เข้าใจง่าย มีนโยบายเปิดเผยข้อมูล และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ชัดเจน รัฐสภามีสำนักงานในต่างจังหวัด
* เปิดเผยสถานะและผลการสอบสวนต่าง ๆ มีการลงทะเบียน lobbyist
เมื่อเป็นดังนี้ ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นสภา ของประชาชนจริง ๆ ไม่มีการที่ว่า "ขอเรียกร้องสภาขอให้เปิดเผยร่างกฎหมาย" กันต่อไป

ข้อมูลจาก https://beta.openparldata.org/
ภาพจาก https://www.transparency.org