Open Government Monday EP17
Published by Klaikong,
[Open Government Monday]
[Open Data เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชั่น]
ไกลก้อง ไวทยการ
เมื่อวันเสาร์ (15 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน สัมมนา Open Data for Anti Corruption จัดโดย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ร่วมกับ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) สถาบัน Change Fusion Open dream เครือข่าย Open Data Thailand
การสัมมนานี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Datathorn หรือ การชวนคนมาร่วมกันสร้างฐานข้อมูล ที่มีชุดข้อมูลที่สามารถเอามาใช้ประโยชน์ ในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งเครือข่ายการทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่น หรือ นักพัฒนาซอฟแวร์ หรือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อหา "ธงแดง" นั่นคือจุดที่ผิดปกติ หรือ จุดที่ต้องแก้ไข เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่น โดยกิจกรรม Datathorn จะจัดขึ้นในวันที่ 6 กรกฎาคม 2562
ชุดข้อมูลหลัก ๆ จะเป็นจุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
- ข้อมูลงบประมาณภาครัฐ
- ข้อมูลการใช้งบประมาณ
- ข้อมูลจากหน่วยงานต่อต้านการคอร์รัปชั่น อาทิ ปปช.
- ข้อมูลคำตัดสินคดีของศาลฎีกา
- ข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจ และ การถือหุ้นในบริษัท เป็นต้น
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เป็นข้อมูลที่มีให้บริการออนไลน์ อยู่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น ๆ อยู่แล้ว แต่ยังขาดคุณสมบัติของ Open Data คือ เป็นข้อมูลที่นำมาประมวลผลต่อได้ หลายที่เป็น PDF
ซึ่งข้อมูลทีเป็นข้อมูล Open Data ควรมีคุณสมบัติคือ
(1) เข้าถึงได้ออนไลน์
(2) มีโครงสร้างของข้อมูล
(3) สืบค้นได้ง่าย
(4) ไม่มีลิขสิทธ์ หรือ เป็นลิขสิทธิ์ที่เมื่อใช้งาน ให้อ้างที่มาของข้อมูล
(5) ไม่ต้องขออนุญาตใช้งาน
อย่างไรก็ตาม การสัมมนาครั้งนี้ได้มีการพูดถึง นวัตกรรมใหม่ ๆ และ กรณีศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในการต่อต้านคอร์รัปชั่น อาทิ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ พม่า
โดยเฉพาะ เครื่องมือที่นำว่าใช้งานเรื่องสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ของภาครัฐคือ Open Contract ที่ใช้ประโยชน์ในการทำ open data สัญญาจัดซื้อ จัดจ้าง ให้เป็นอิเล็กทรอนิกสื และ มีโครงสร้างข้อมูลเป็นมาตรฐาน เพื่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานรัฐที่ว่าจ้าง บริษัทผู้รับจ้าง บริษัท supplier ที่ร่วมโครงการ รวมทั้งหน่วยงานที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณ และ ภาคประชาสังคม ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่น สามารถทำงานร่วมกันได้
ซึ่งหัวใจของการ Open Data คือการร่วมกันทำงาน เพื่อการแก้ปัญหาร่วมกัน ดังนั้นหากไม่ว่าเรื่องใด หากมีการทำข้อมูลที่เป็นมาตรฐานสากล ไม่เพียงความร่วมมือในประเทศ แต่สามารถสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติได้ เช่น การสร้างวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ตรงความต้องการ ลดความซ้ำซ้อน และ ประหยัดงบประมาณไปได้ หรือ บางโครงการเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกันหลายประเทศ อาทิ การสร้างรถไฟความเร็วสูง ก็สามารถมีข้อมูลสัญญาการจัดซื้อ ในส่วนต่าง ๆ เพื่อความโปร่งใส และ ติดตามความคืบหน้าของโครงการร่วมกัน
อย่างไรก็ตามภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และ ชุมชนด้านเทคโนโลยี หรือ นักวิทยาสตร์ข้อมูลต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความโปร่งใส และให้เกิดรัฐเปิดเผย และ เชื่อมกับการทำงานในระบบการเมือง อาทิ กับตัวแทนในรัฐสภา เพื่อผลักดันเชิงนโยบาย ทั้งเรื่องต่อต้านคอร์รัปชั่น รัฐเปิดเผย และ การเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารภาครัฐของประชาชน
บทความนี้เป็น CC:BY นำไปเผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำได้ โดยอ้างที่มา
อ่าน Open Government Monday ย้อนหลังได้ที่ https://klaikong.in.th/