Open Government Monday EP3

Smart City กับ Open Government
ไกลก้อง ไวทยการ



ทุกวันจันทร์ผมพยายามจะโพสเรื่องเกี่ยวกับ Open Government ทั้งไอเดียที่จะนำมาใช้ และ กรณีศึกษาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อขยายภาพนโยบาย #Opengoverment หรือ #รัฐเปิดเผย ของพรรค #อนาคตใหม่

สมาร์ตซิตี้คือ

การนำเทคโนโลยี มาบูรณาการกับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ทั้งการขนส่ง ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม การศึกษา การประกอบอาชีพ สวัสดิการ การบริการของภาครัฐ และการป้องกันภัยพิบัติ

พื้นฐานคือ การใช้เทคโนโลยี และ ข้อมูล (Data) ของเมือง ยิ่งไปกว่นั้นต้องมีความโปร่งใส และ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ไม่แค่ติด CCTV มีฟรีไวไฟ สร้าง Call Center หรือ สร้างระบบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองเท่านั้น แต่ต้องให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมหรือใช้ประโยขน์กับข้อมูลที่จะให้เขาใช้ชีวิตในเมืองด้วย เช่น ขนส่งสาธารณะ การประกอบอาชีพ การหางาน การศึกษา การดูแลสุขภาพ

เป็นสมาร์ตซิตี้

1. ต้องออกแบบเมืองอย่างมีส่วนร่วม เอาปัญหาของพื้นที่เป็นที่ตั้ง และ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาแก้ปัญหา
2. หาภาคีมาร่วมมือ พรรคอนาคตใหม่ เห็นว่าประเทศไทยมีกลุ่ม start up ที่มีศักยภาพมาก ควรนำมาร่วมมือกับท้องถิ่นสร้าง smart city ปัญจัยที่สำคัญคือ การ Open Data ให้กลุ่ม Start Up เหล่านั้นนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์และสร้างนวัตกรรม
3. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งพรรคอนาคตใหม่ มีนโยบายยุติรัฐราชการร่วมศูนย์ กระจายอำนาจทั้งการเลือกผู้บริหาร การจัดการงบประมาณของท้องถิ่น การลดอำนาจราชการส่วนกลาง เป็นรัฐเดี่ยวที่กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

ทำไมต้องกระจายอำนาจ
หลายคนพูดถึงขอนแก่นสมาร์ตซิตี้โมเดล ต้องบอกว่ามีน่าชื่นชนในความพยายามอันนี้ แต่ไม่สามารถไปได้สุด เพราะติดกับระบบราชการรวมศูนย์ ทางบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง ต้องใช้เวลาอย่างมาก กับการเข้ามาเสนอโครงการ ขออนุญาตทำรถรางไฟฟ้า กับราชการส่วนกลาง ทั้งมหาดไทและ สนข. ทั้ง ๆ เรื่องเหล่านี้น่าจะจบในท้องถิ่น จ. ขอนแก่น

Open Data จะสร้างความโปร่งใสให้กับเมือง ทั้งเรื่องงบประมาณและ การมีส่วนร่วม สมาร์ทซิตี้ควรจะให้ประชาชนกำหนดเรื่องการใช้งบประมาณได้ด้วย รวมทั้งการสร้างระบบสวัสสดิการให้คนในเมือง ทั้งการดูแลสุขภาพของคน การมีงานทำ การมีที่อยู่อาศัย และ การดูแลคนพิการ และผู้สูงอายุ

เมืองต้องเป็นเมืองที่ปรับตัวได้เร็ว และ ฟื้นตัวได้ไว (resilience City)

ที่ผ่านมาเมืองต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ทั้งด้านภัยพิบัติ มลพิษ ความปลอดภัยสาธารณะ เมืองควรมีแผนเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายเหล่านี้ การนำ Big Data และเสียงสะท้อนจากพลเมือง เช่นการแจ้งปัญหา การร้องเรียน มาบริหารจัดการเมือง เพื่อที่จะสนับสนุนตัดสินใจบริหารความท้าทาย และความเสี่ยงของเมืองได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และ เปิดเผย

ตั้งหน่วยงานสนับสนุนเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (digital transformation)
ที่เกาหลีมีหน่วยงานที่ชื่อว่า Korea Local Information Research & Development Institute หรือ สถาบันวิจัยและพัฒนาสารสนเทศส่วนท้องถิ่น (https://www.klid.or.kr/eng/) ทำหน้าที่พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการบริหารเมือง อาทิ การใช้ระบบข้อมูล bigdata ออกแบบเส้นทางขนส่งสาธารณะใหม่ ๆ ในเมืองเป็นต้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานในลักษณะนี้

ทั้งหมดนี้คือแนวคิดสมาร์ทซิตี้ ที่อยากให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

อ้างอิง: https://techsauce.co/tech-and-biz/smart-city-thailand/
ภาพจาก : https://www.flickr.com/photos/143789194@N03/28650310590
ข้อมูลอื่น ๆ : รายการเส้นทางเลือกตั้ง 62 l แนวคิดเมืองอัจฉริยะ l 18 กุมภาพันธ์ 2562 คุยและดีเบตกับ ดร.ณพงศ์ นพเกตุ ผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐ
https://youtu.be/ePKMzKe6E9k