อภิปรายกฎหมาย กสทช.
Published by Klaikong,
เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 62 ผม ไกลก้อง ไวทยการ ผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ #พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายในการ #ประชุมสภา ในวาระรับทราบรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 ของ พรบ. กสทช.
ที่มาโดยสรุป ก็คือ พรบ. กสทช. ฉบับปี พ.ศ. 2562 กำหนดว่า การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และ การประกอบกิจการ ต้องรอคณะกรรมการ กสทช. มีความพร้อม และให้ตราพระราชกฤษฎีกา (กฎหมายลูก) ออกมาบังคับใช้ ซึ่ง พรบ. กสทช. ฉบับปี พ.ศ. 2562 สาระในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และ การประกอบกิจการที่น่าสนใจ เช่น
- เมื่อได้ใบอนุญาตประกอบกิจการบน platform หนึ่งแล้ว สามารถในไปประกอบกิจการ บน platform อื่นได้
- เมื่อได้ใบอนุญาตประกอบกิจการบน platform หนึ่งแล้ว สามารถในไปประกอบกิจการ บน platform อื่นได้ เช่นได้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัลแล้ว สามารถทำ Streaming ได้
- สามารถโอนใบประกอบกิจการได้ เช่น การประมูล TV Digital หรือ ใบอนุญาต 4G ที่ผ่านมา หากผู้ได้รับใบอนุญาตต้องการเลิกประกอบกิจการ สามารถโอนใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายใหม่ได้
- มีการจัดสรรคลื่นใช้เพื่อบริการสาธารณะ ความมั่นคงของรัฐ และ องค์กรไม่แสวงกำไร โดยไม่ต้องประมูล เช่น เรื่อง Sensor PM 2.5 Sensor วัดระดับน้ำ หรือ Smart Meter ต่าง สามารถใช้ คลื่นที่เอื้อต่อการส่งสัญญาณระยะไกลของอุปกรณ์ IoT เพื่อบริการสาธารณะ เป็นต้น
แต่กว่าจะตราพระราชกฤษฎีกา (กฎหมายลูก) จะใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็น และ ปรับปรุงกฎระเบียบ จะใช้เวลาจากนี้ไปอีกประมาณปีครึ่ง คือ รับฟังความคิดเห็นได้ในปี 64 ซึ่งนานเกินไป ขณะที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้อภิปรายให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการในระยะเวลาที่สั้นลง เพื่อให้กฎหมายทันกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกันก็ตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินการของคณะกรรมการกสทช. ชุดต่ออายุจากมาตรา 44 ไม่มีความเป็นอิสระ และ กระบวนการสรรหาจะเกิดขึ้นได้ต้องรอมติ ครม. ที่ผ่านมาทั้งปิดสื่อมวลชน ยืดหนี้ค่าใบอนุญาต 4G การมายืดระยะเวลาต่าง ๆ ออกไปเพื่อให้องค์กรอิสระ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ ทั้งตัวบุคคลที่เป็นกรรมการ และ กฎหมาย ที่จะเป็นเครืองมือใหม่ที่สอดคล้องกับ เทคโนโลยีหลอมรวม convergent ส่อเจตนาของรัฐบาลที่ต้องการทำให้ แผนการประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งมีผลประโยชน์หลายหมื่นล้าน ยังอยู่ในกำมือของรัฐบาล ที่ถูกกล่าวหา และ มีการกระทำที่ประจักษ์ได้ว่าเอื้อทุนใหญ่ ทุนผูกขาด มาตลอด
พออภิปรายจบทาง สำนักงาน กสทช. โดยท่านรองเลขาธิการ พล.อ.ท. ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รับว่าจะไปทำกระบวนการให้กระชับขึ้น