ร่างกฎหมายส่งเสริม Open Government
Published by Klaikong,
ไกลก้อง ไวทยการ
อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา ร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน
เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเห็นชอบ รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง"ร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน" ที่จัดทำโดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร
รายงานการศึกษาฉบับนี้ผมได้มีโอกาสร่วมเป็นคณะอนุกรรมาธิการ ซึ่งชุดร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ถือว่าเป็นชุดร่างกฎหมาย ที่ส่งเสริมเรื่อง "รัฐเปิดเผย" หรือ Open Government ที่เน้นการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ การทำงาน ทั้งของฝ่ายบริหาร และ ฝ่ายนิติบัญญัติ รวมทั้งปกป้อง สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงออกทางการเมือง โดยยึดหลักคิดที่ว่า รัฐต้องปกป้องคุ้มครอง สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงออก และ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ไม่ใช่คอยควบคุม กำกับ ตรวจสอบ สกัดกั้น การแสดงออกทางการเมือง
โดยในรายงานได้เสนอทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย และ การร่างกฎหมายเพิ่มเติม 5 ฉบับดังนี้
- ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. .... เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ของราชการได้อย่างทั่วถึงและสะดวกมากขึ้น และประชาชนจะสามารถมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยยึดหลักการที่สาคัญว่า ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มิใช่ ข้อมูลความลับราชการและข้อมูลส่วนบุคคล ควรจะต้องถูกเปิดเผยโดยมิต้องร้องขอ และให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงได้ผ่านช่องทางระบบดิจิทัลโดยสะดวก
- ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. .... เพื่อรับรองสิทธิในการมีส่วนร่วม ของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการ นโยบายสาธารณะในทุกระดับ ทั้งการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นตามช่วงระยะเวลาและเมื่อจะมีการดำเนินการ ในนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อส่วนได้ส่วนเสียสาคัญของประชาชน และมีกลไกรับรองกระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และร่วมตรวจสอบกระบวนการมีส่วนร่วม ให้มี ความเหมาะสมได้รวดเร็วขึ้น
- ร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงให้หน่วยงานรัฐ มีกาหนดการและวิธีการที่ชัดเจนในการปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะบนระบบดิจิทัล และเพื่อให้มีศูนย์กลางการมีส่วนร่วมของประชาชน บนระบบดิจิทัล เพื่ออานวยความสะดวก ในการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
- ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงให้เป็นการรับรอง และคุ้มครองสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เพราะการชุมนุมเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการแสดงออกที่จะสนับสนุน เรียกร้อง หรือคัดค้าน ของประชาชน ต่อการดาเนินงานของภาครัฐ และเพื่อให้เป็นกฎหมายที่คุ้มครองการชุมนุมให้สอดคล้องกับหลักการสากลมากขึ้น
- ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงให้ลดความซ้าซ้อนกับประมวลกฎหมายอาญา ปรับปรุงให้กฎหมายมีความเหมาะสมกับบริบท สังคมดิจิทัลและให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากขึ้น และเพื่อคุ้มครองการใช้ สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทั้งนี้ร่างกฎหมายทั้ง 5 ฉบับ ที่คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอในรายงานครั้งนี้ โดยเน้นว่า รัฐต้องเปิดเผยข้อมูล และเปิดเผยในรูปแบบฐานข้อมูลดิจิทัล เป็น Machine Readable รัฐต้องสร้างช่องทางและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม รัฐต้องคุ้มครองดูแลการชุมนุมโดยสงบ โดยผู้ชุมนุมเพียงแจ้งเพื่อทราบล่วงหน้าก่อน 24 ชั่วโมง เพื่อใช้สิทธิพลเมืองในการชุมนุมโดยสงบตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ และ สุดท้าย แก้ไข พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้นำมาใช้กล่าวหา หรือ สกัดกั้น การแสดงความเห็นทางการเมือง
หากร่างกฎหมายในรายงานฉบับนี้ สามารถผ่านออกมากฎหมายบังคับใช้ จะทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นไปอย่างสะดวก และ กว้างขวาง ทำให้รัฐไทยเป็นรัฐที่เปิดเผยอย่างแท้จริง
คลิกที่นี่เพื่ออ่าน การพิจารณาศึกษา เรื่อง"ร่างกฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน"