Open Government Monday EP15

[Open Government Monday]
[ความท้าทายต่อ ประชาธิปไตย และ Open Government]


Open Government Monday ตอนที่แล้ว https://klaikong.in.th/post/open-government-monday-ep14 ผมได้พูดถึง การประชุมสุดยอดว่าด้วยรัฐเปิดเผย หรือ Open Government Summit ที่ประเทศแคนนาดา ซึ่งการประชุมได้เสร็จสิ้นไปแล้วที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา การประชุมนี้มีหลายหัวข้อที่น่าสนใจ ซึ่งผมจะได้เขียนสรุปเป็นตอน ๆ ในสัปดาห์ถัด ๆ ไป

ตอนแรกนี้ผมขอสรุป เวทีเช้าวันที่ 29 พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นเวทีเปิดหัวข้อของ "การมีส่วนร่วม" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของรัฐเปิดเผยและประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมและการแสดงความเห็นของผู้คน ตามระบอบประชาธิปไตยกำลังถูกคุกคาม และเป็นความท้าทายต่อการเป็นรัฐเปิดเผย หรือ Open Government โดยสิ่งต่าง ๆ อาทิ ข่าวลวง การคุกคามพื้นที่ทางประชาธิปไตย การแบ่งขั้วความคิดโดยใช้สื่อดิจิทัล เงินและอิทธิพลที่มีต่อสื่อมวลชน

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นคือ พื้นที่ประชาธิปไตยของภาคพลเมือง ถูกริดรอนทั่วโลก ทั้งจากรัฐและกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ดังนั้น การป้องกันพื้นที่ของภาคพลเมือง เสรีภาพลดลง ทั้งเสรีภาพในการแสดงออก และ เสรีภาพในการมีส่วนร่วม พื้นที่ของการมืส่วนร่วมต้องได้รับประกัน มีการพูดถึงพื้นที่ทางกายภาพ เปลี่ยนมาเป็นดิจิทัล ซึ่งทำให้การณรงค์ต่าง ๆ เปลี่ยนมาเป็นดิจิทัล อย่างไรก็ตามพื้นที่ดิจิทัลเข้าถึงเฉพาะคนบางกลุ่ม การที่สร้างเครื่องมือการมีส่วนร่วมบนแพลทฟอร์มดิจิทัล ต้องคำนึงถึงข้อนี้ให้ดีว่าไม่ใช่ทุกคนจะเข้าถึงได้ และการออกแบบเครื่องมือใด ๆ ต้องเอาผู้ใช้มาเป็นศูนย์กลางของการออกแบบ

อินเทอร์เน็ตสะท้อนภาพที่เรามีในสังคม เรายังต้องการความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เรายังต้องการการแบ่งเส้นระหว่างเนื้อหาที่ถูกกฎหมาย กับผิดกฎหมาย ซึ่งจะปล่อยให้อัลกอริทึมเข้ามาจัดการโดยที่ไม่มีการกำกับดูแลไม่ได้ แต่การกำกับดูแลต้องมีความสมดุลระหว่างการควบคุมสิ่งที่เป็นภัยคุกคาม และ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

ภาคธุรกิจเองก็ต้องคำนึงถึงพื้นที่การมีส่วนร่วม และ ต้องรักษาสภาพแวดล้อมนี้ไว้ เพราะหากอินเทอร์เน็ตถูกควบคุม คนก็จะหนีจากแฟลตฟอร์มซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาคธุรกิจ ในทางการเมือง นักการเมืองของพรรคขนาดเล็ก หรือผู้สมัครอิสระก็ได้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัล เพราะไม่มีกำลังที่จะไปใช้สื่อหลักในการหาเสียง หรือ ประชาสัมพันธ์นโยบาย

หากบอกว่าปัญหาเรื่องการมีส่วนร่วมนี้เป็นปัญหาเฉพาะคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเท่านั้นคงไม่ถูก เพราะมีคนตาย และ ต้องเผชิญกับความรุนแรง จากการพยายามควบคุม หรือ สร้างข้อมูลข่าวสารเท็จ หรือ ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการแบ่งขั้วความคิด

ดังนั้นหากจะถามว่าประชาธิปไตยคืออะไร คำตอบหนึ่งก็คือที่ ๆ ผู้คนสามารถมาออกความคิดเห็นได้ จึงต้องมีหลักประกันความปลอดภัยของพื้นที่ประชาธิปไตย และยอมรับทุกคำวิพากษ์ วิจารณ์ แต่มิอาจยอมรับคำพูด หรือ ข้อความ หรือ การกระทำที่เป็นการคุกคาม การเหยียด หรือ ประทุษวาจาได้

สิ่งที่เราต้องช่วยกันคือคือ "จะทำอย่างไรที่จะสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมของพลเมืองที่เคารพความคิดเห็นของกันและกัน และเป็นพื้นที่ปลอดภัย"

ฟังการเสวนาเต็มได้ที่ https://studiocast.ca/client/ogp/event/6399/en/

Speakers
Aidan Eyakuze, Twaweza and OGP Steering Committee (by video), Renata Avila, Ciudadano Inteligente, Guatemala, Karina Gould, Minister of Democratic Institutions, Government of Canada, Ben Scott, Director of Policy and Advocacy, Luminate, Halla Tómasdóttir, CEO, The B Team, Yama Yari, Government of Afghanistan, Christophe Deloire, Secretary-General, Reporters Sans Frontière, France

บทความนี้เป็น CC:BY นำไปเผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำได้ โดยอ้างที่มา
อ่าน Open Government Monday ย้อนหลังได้ที่ https://klaikong.in.th/