พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
Published by Klaikong,
เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2565 ผมได้ทำหน้าที่กรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... ซึ่งเข้าพิจารณาในที่ประชุมร่วม (ส.ส.+ส.ว.) ของรัฐสภา
ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีสาระสำคัญคือ ให้หน่วยงานของรัฐ จัดทำช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการขออนุญาต จดทะเบียน ขอแจ้งต่างๆ จ่ายค่าธรรมเนียม ร้องเรียน ร้องทุกข์ สามารถทำผ่านอินเตอร์เน็ต แอพพลิเคชัน ซึ่งกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ได้รองรับเรื่องนี้โดยตรง
อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังรับรองสิทธิ์ของประชาชนที่เป็นปัญหากับการติดต่อหน่วยราชการ หรือ เจ้าหน้าที่รัฐมาตลอด คือ
-เมื่อมาติดต่อราชการหากนำเอกสารต้นฉบับมาแสดง หน่วยงานต้องทำสำเนาเอง ห้ามเก็บค่าธรรมเนียมสำเนาเอกสาร (บังคับใช้ทันที)
-หากเจ้าหน้าที่ขอดูบัตร หรือ ใบอนุญาต ประชาชนให้เจ้าหน้าที่ดูเป็นภาพอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ภาพในมือถือได้ ถือว่าชอบโดยกฎหมายแล้ว ยกเว้น บางเอกสารเช่น บัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง (บังคับใช้ใน 90 วันหลังประกาศในราชกิจจาฯ)
ประเด็นที่ต้องผลักดัน ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คือ ต้องให้บังคับใช้กับหน่วยงานรัฐทุกหน่วย ทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ องค์กรอิสระ ซึ่งร่างของกรรมาธิการเสียงข้างมากได้กลับไปยืนตามร่างของรัฐบาล คือบังคับใช้เฉพาะหน่วยงานของรัฐภายใต้ฝ่ายบริหารเท่านั้น ส่วนหน่วยงานนอกฝ่ายบริหารให้ตราเป็นร่าง พ.ร.ฎ. มาบังคับใช้ภายหลัง ซึ่งผมเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ได้สงวนความเห็นไว้ และ ยังได้สงวนความเห็นไว้อีกในหลายมาตรา ดังนี้
อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 4
อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 6
อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 10
อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 13/1
อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 19
อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 22
อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 23
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมร่วมของรัฐสภา ก็ลงมติยืนตามร่างของกรรมาธิการเสียงข้างมาก ที่เกือบจะไม่ต่างจากร่างของรัฐบาลเสนอมา ซึ่งทำให้เมื่อบังคับใช้ การที่จะให้ราชการเปลี่ยนผ่านไปสู่การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ อาจไม่เท่าทันเทคโนโลยีและความต้องการของประชาชน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ก้าวหน้าที่สุดคือ ส่วนข้อสังเกตแนบท้าย พ.ร.บ.ฉบับนี้ อาทิ
- ควรเร่งให้หน่วยงานอื่น ๆ นอกเหนือฝ่ายบริหาร เข้ามาสู่การบังคับใช้กฎหมายนี้
- ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ เพลทฟอร์มกลาง เพื่อลดค่าใช้จ่ายของหน่วยราชการขนาดเล็ก
- ควรมีช่องทางกลางหรือ portal ด้านการบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ประชาชน
- ควรเร่งขยายเครือข่ายอิเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุม และ การสร้างการรู้เท่าทันด้านดิจิทัล (digital literacy) ให้ประชาชน
- พัฒนาบุคคลากรภาครัฐให้มีจิตบริการ แก้ปัญหาเรื่องการใช้งานระบบดิจิทัลให้กับประชาชนให้ดีขึ้น
- จัดทำฐานข้อมูลที่มีอยู่เป็น Open data
- ควรเพิ่มทรัพยากรให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และจัดทำจดหมายเหตุเว็บไซต์ (web archive)
หวังว่าข้อสังเกตที่แนบท้าบกฎหมายนี้จะถูกนำไปปฏิบัติจริงในอนาคต
อยากจะบอกว่า 8 ปีที่ผ่านมา แม้มีอำนาจ แต่รัฐบาลไม่มีปัญญา ไม่ตั้งใจติดตาม ทำให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ รัฐบาลดิจิทัลเป็นแค่นโยบายสวยหรู ที่ต่างคน ต่างทำ ซ้ำซ้อนและไม่เชื่อมโยง ไม่เกิดจริง
ดังนั้นเลือกตั้งครั้งหน้า เลือกพรรคที่เข้าใจเรื่องดิจิทัลอย่าง #ก้าวไกล มาเป็นรัฐบาล ก็จะเร่งให้รัฐบาลดิจิทัลเกิดขึ้นจริง
อ่านร่างที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาได้ที่นี่
Download PDFพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
Download PDFไกลก้อง ไวทยการ
รองประธานคณะกรรมาธิการ
พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์